เมื่อวันที่ 16 ก.พ.64 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เปิดเผยว่า การตรวจคัดกรองเชิงรุกภายในชุมชนขณะนี้ เริ่มพบจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นที่สมุทรสาคร กรุงเทพฯ และปทุมธานี ซึ่งสถานการณ์ทำให้เบาใจได้ แต่คงยังไม่สามารถวางใจ และยังต้องการ์ดไม่ตกกันต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุม ศบค.ชุดเล็กวันนี้ ได้มีการพิจารณาและวิเคราะห์ไทม์ไลน์การติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มก้อนของหอพักจุฬานิวาส ซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อรวมทั้งหมด 22 คน
ซึ่งส่วนใหญ่ในนี้เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย (รปภ.) นั้น พบว่าจุดที่เป็นประเด็นน่าสนใจและเชื่อว่าจะเป็นสาเหตุให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็ว คือ 1.พักอาศัยในที่เดียวกัน 2.ทำงานร่วมกัน 3.รับประทานอาหารร่วมกัน 4.มีกิจกรรมตรวจแถว รปภ.ร่วมกัน 5.บันทึกเวลาทำงานด้วยการสแกนลายนิ้วมือ
- เสนอศบค.ชุดใหญ่เคาะผ่อนคลายมาตรการเพิ่ม22ก.พ.นี้
- “กรุงไทย” จัดคิวลงทะเบียนเราชนะกลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟนขยายเวลาถึง 5 มี.ค.64
“ทาง ศบค.มีความเป็นห่วง โดยเฉพาะกรณีการสแกนนิ้วมือ หากสถานที่ทำงานใดมีการทำในลักษณะนี้ ฝากให้ช่วยดูแล ทำความสะอาด โดยเฉพาะหลังจากที่สแกนนิ้วมือแล้ว จะต้องเช็ดหรือล้างมือบ่อยๆ” นพ.ทวีศิลป์กล่าว
โฆษก ศบค.ยังกล่าวถึงผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการรับวัคซีนต้านไวรัสโควิด ซึ่งเป็นการสำรวจของกรมควบคุมโรค ซึ่งเมื่อถามว่าอยากให้ฉีกวัคซีนในคนกลุ่มใดก่อน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตอบว่าอันดับแรก บุคลากรทางการแพทย์ อันดับสอง ผู้สูงอายุ และอันดับสาม ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ขณะที่อีกผลการสำรวจ ซึ่งจัดทำโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฎ 36 แห่ง พบว่าต้องการให้ฉีดวัคซีนแก่บุคลากรทางการแพทย์เป็นกลุ่มแรกเช่นเดียว รองลงมา เป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งใกล้เคียงกับอันดับสาม คือ กลุ่มผู้สูงอายุ
นอกจากนี้ ได้มีการให้ความเห็นเพิ่มเติมถึงกลุ่มที่ควรได้รับวัคซีนเป็นลำดับแรกๆ เช่น อาชีพที่ต้องต้อนรับนักท่องเที่ยว หรือพบปะคนหมู่มาก, จังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก, คนไทยที่จะต้องเดินทางไปต่างประเทศ และจังหวัดที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว