บิล เกตส์กังวลขุดบิตคอยน์ทำให้โลกร้อนขึ้น

แต่แจ็ค ดอร์ซีย์กลับมองเห็นโอกาสในการใช้พลังงานสีเขียวจากการลงทุนนี้

ในขณะที่บิตคอยน์และคริปโตเคอร์เรนซี่ต่างๆ กำลังมาแรง ปัญหาหนึ่งที่โลกมองข้ามไปคือ การให้ได้มาซึ่งโทเคนต่างๆ ทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก

บิล เกตส์ บอกกับ New York Times “บิตคอยน์ใช้พลังงานไฟฟ้าต่อการทำธุรกรรมมากกว่าวิธีอื่นๆ ที่มนุษย์รู้จัก ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่ดีต่อสภาพภูมิอากาศเลย”

บิล เกตส์คิดว่าตัวเองเป็นคนขี้ระแวงบิตคอยน์ แต่ความระแวงของเขาไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาสภาพอากาศ ในประเด๋นที่มันทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างหนักนั้น บิล เกตส์กล่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเอาชนะความท้าทายนี้ แต่เขายังไม่มั่นใจ

เขาบอกกับ New York Times “ถ้ามันผลิตจากพลังไฟฟ้าสีเขียวและไม่ได้แย่งไฟฟ้าจากการใช้งานประเภทอื่นๆ มากมาย ในที่สุดมันก็อาจจะโอเคก็ได้”

ทำไมบิล เกตส์ถึงจู้จี้กับการที่บิตคอยน์ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศโลก? นั่นก็เพราะบางรายงานการวิจัยระบุว่าการปล่อยคาร์บอนจากการผลิตกระแสไฟฟ้าที่นำมาใช้ในการขุดบิตคอยน์และใช้ในการทำธุรกรรมนั้นสในแต่ละปีมีปริมาณเท่ากับปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมาจากนิวซีแลนด์หรืออาร์เจนตินาทั้งประเทศ

ทั้งนี้ การให้ได้มาซึ่งโทเคนหรือเหรียญบิตคอยน์นั้นจะต้องทำการรับรองธุรกรรมและทำการคำนวณแฮช (Hash) ที่อยู่ในบล็อคเชนหรือที่เรียกว่าการขุดหรือทำเหมืองบิตคอยน์ โดยการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อแก้สมการทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนมากขึ้น แต่ถึงแม้จะรับรองธุรกรรมแล้วก็ไม่ได้หมายความว่านักขุดจะได้โทเคนในทันทีมันต้องอาศัยโชคและดวงด้วย ซึ่งการทำแบบนี้ทำให้ต้องเร่งขุดและต้องใช้ไฟฟ้าปริมาณที่มากในการเดินเครื่อง

จากข้อมูลของ Digiconomist การทำธุรกรรมบิตคอยน์หนึ่งรายการนั้นเทียบเท่ากับคาร์บอนฟุตพรินต์ (หรือการปล่อยคาร์บอนที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง) ของธุรกรรมทางการเงินจากบัตรเครดิต Visa ถึง 735,121 รายการหรือเท่ากับการที่เราดูคลิปต่างๆ ใร YouTube นานถึง 55,280 ชั่วโมง

  • แอปยอดนิยมของจีนเป็นบริษัทใหญ่รายแรกที่ซื้อ Ether
  • บิตคอยน์อาจแตะ 1 ล้านดอลหรือมากกว่านั้น

อย่างไรก็ตาม การเปรียบเทียบแบบนี้ถูกวิจารณ์ว่าเป็นการเทียบที่ไม่เหมาะสม เพราะธุรกรรมของบิตคอยน์โดยเฉลี่ยมีมูลค่าประมาณ 16,000 เหรียญสหรัฐในขณะที่ธุรกรรมจากบัตร Visa โดยเฉลี่ยมีมูลค่า 46.37 เหรียญสหรัฐ

อย่างไรกตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่าการขุตบิตคอยน์มีส่วนทำลายโลก เรื่องนี้ถูกพูดถึงมาตั้งแต่ก่อนมันบูมแล้ว หนึ่งในนั้นคือ ฮัล ฟินนีย์ นักคริปโตเคอร์เรนซี่คนแรๆ ที่โพสต์บนทวิตเตอร์ ในปี 2009 ว่า “ลองนึกแล้วกันเกี่ยวกับวิธีลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้บิตคอยน์อย่างแพร่หลาย”

แจ็ค ดอร์ซีย์ ผู้ร่วมก่อตั้งทวิตเตอร์และยังตั้งบริษัทชำระเงิน Square เป็นหนึ่งในผู้สนับสนับบิตคอยน์ตัวยงที่สุดทั้งการจัดการกับธุรกรรมและการเก็บรักษาสกุลเงินดิจิทัลไว้ในงบดุลของตัวเอง มีเงินสดสำรองประมาณ 5% ในบิตคอยน์

ดอร์ซีย์กล่าวในแถลงการณ์ว่า “เราเชื่อว่าในที่สุดคริปโตเคอร์เรนซี่จะได้รับการขับเคลื่อนอย่างสมบูรณ์ด้วยพลังงานสะอาด กำจัดคาร์บอนฟุตพรินต์ และผลักดันการนำพลังงานหมุนเวียนไปใช้ทั่วโลก”

แถลงการณ์นี้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นที่จะให้บริษัท Square ของเขาเป็นศูนย์ในการปล่อยก๊าซคาร์บอนเท่กับ 0 ภายในปี 2030 บริษัทของเขายังได้ทุ่มเงิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐในการลงทุนในเทคโนโลยีพลังงานสีเขียวใหม่เพื่อใช้ในการขุดบิตคอยน์และมีเป้าหมายที่จะเร่งการเปลี่ยนการขุดบิตคอยน์ไปสู่พลังงานสะอาด

Photo by Ludovic MARIN / AFP

Photo by Ozan KOSE / AFP

Photo by Jim WATSON / AFP

Next Post

สตม.แจงไม่เคยออกหนังสือห้ามนักศึกษาต่างชาติชุมนุมทางการเมือง

ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองยันสตม.ไม่เคยออกหนังสือห้ามนักศึกษาต่างชาติชุมนุมทางการเมือง แค่ประสานให้ระวังการติดเชื้อโควิดและอย่าทำผิดกฎหมายในไทย เมื่อวันที่ 10 มี.ค.พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง(สตม.) เปิดเผยกรณีมีสถาบันการศึกษาบางแห่งในจ.ปทุมธานี ได้ออกประกาศเตือนไม […]