ผลักดัน “รัฐบาลดิจิทัล” ครม.ไฟเขียว หน่วยงานรัฐต้องใช้ “อีเมล” ในการสื่อสารเป็นหลัก

หลังจากเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 64 ครม.ได้เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ ..)     พ.ศ. …. และร่างภาคผนวก 6 หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการรับส่งและเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารและหนังสือราชการด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ และร่างภาคผนวก 7 หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการรับส่งและเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารและหนังสือราชการโดยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 

โดยสาระสำคัญ คือ เห็นชอบให้ใช้สารบรรณเล็กทรอนิกส์เป็นระบบหลักในงานสารบรรณของส่วนราชการ  จากเดิมที่กำหนดให้สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เป็นทางเลือก เพียงแต่ยังคงยกเว้นกรณีที่เป็นข้อมูลข่าวสารลับชั้นลับที่สุด ที่เป็นสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการชั้นลับที่สุดเท่านั้น ทั้งนี้  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความรวดเร็ว ความมั่นคงปลอดภัยในการดำเนินงานของภาครัฐ รวมทั้งยังสอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งประชาชนจะได้รับความสะดวกในการติดต่อกับส่วนราชการมากยิ่งขึ้นด้วย

ล่าสุดวันนี้ (17 ส.ค.)  นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)รับทราบการพัฒนากฎหมายเพื่อเร่งรัดให้เกิดรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ดำเนินการพัฒนากฎหมายไปแล้ว อาทิ

1.จัดทำร่างพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. …. โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ยื่นคำขอหรือการติดต่อใดๆ ระหว่างประชาชนกับหน่วยงานรัฐหรือระหว่างหน่วยงานรัฐด้วยกัน สามารถทำโดยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ซึ่งขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร

2.จัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2564 (ระเบียบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์) โดยหน่วยงานของรัฐต้องใช้อีเมลในการสื่อสารเป็นหลักมีผลตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้สามารถพัฒนาต่อยอดไปใช้ในการจัดทำระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้

3.ปรับปรุงกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถดำเนินงานทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ จัดทำร่างพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด (ฉบับที่..) พ.ศ. …. (แก้ไขเพิ่มเติมให้ทันสมัย 6 ประเด็น) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงให้บริษัทมหาชนจำกัดและคณะกรรมการบริษัท มหาชน จำกัด สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ซึ่งขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร

4.ปรับปรุงวิธีการเขียนกฎกระทรวงและกฎหมายลำดับรองอื่นให้หน่วยงานของรัฐให้บริการแก่ประชาชนด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 8 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ. ศ.2558 ซึ่งปัจจุบันมีกฎหมายลำดับรองระดับกฎกระทรวงที่ผ่านการพิจารณาทั้งหมด 75 ฉบับ และพร้อมรองรับการดำเนินการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว

Next Post

ABA and JCB partner to enable payment acceptance in Cambodia

Tokyo & Phnom Penh, Aug 18, 2021 – (JCN Newswire via SEAPRWire.com) – JCB International Co., Ltd., the international operations subsidiary of JCB Co., Ltd., Japan’s only international payment brand, and Advanced Bank of Asia Ltd. (ABA Bank), the digital banking leader in Cambod […]