เผยข้อสงสัยคดี “แอมมี่ เดอะบอททอมบลู” ทำไมโทษสูงสุด “ประหารชีวิต”

เปิดข้อกฎหมายคดี “แอมมี่ เดอะบอททอมบลู” ทำไมโทษสูงสุด "ประหารชีวิต"

หลังจากเมื่อช่วงดึกของวันที่ 2 มี.ค. เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมตัวนักร้องชื่อดังและแนวร่วมกลุ่มราษฎร “นายไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์” หรือ “แอมมี่ เดอะบอททอมบลู” ในข้อหากระทำความผิดตามมาตรา 112 วางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

โดยคดีของ “แอมมี่” ถูกแจ้ง 3 ข้อหาก่อเหตุวางเพลิง หน้าเรือนจำกลางคลองเปรม ทำให้มีคำถามมากมายเหิดขึ้น ว่าเหตุใดโทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต?

เมื่อเปิดดูกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้เขียนบทบัญญัติเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวไว้ดังนี้ คือ

มาตรา 112 แห่ง “ประมวลกฎหมายอาญา”  ระบุว่า ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์พระราชินีรัชทายาท หรือผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี

ขณะที่ มาตรา 218 ผู้ใดวาง “เพลิงเผาทรัพย์” ดังต่อไปนี้

(1) โรงเรือน เรือ หรือแพที่คนอยู่อาศัย

(2) โรงเรือน เรือ หรือแพอันเป็นที่เก็บหรือที่ทําสินค้า

(3) โรงมหรสพหรือสถานที่ประชุม

(4) โรงเรือนอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เป็นสาธารณสถาน หรือเป็นที่ สําหรับประกอบพิธีกรรมตามศาสนา

(5) สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน หรือที่จอดรถหรือเรือสาธารณะ

  • แฮชแท็ก #แอมมี่TheBottomBlues ขึ้นอันดับ 1 หลังยอมรับเผาหน้าเรือนจำคลองเปรม
  • "แอมมี่"ยอมรับเผาหน้าเรือนจำคลองเปรม ขอรับผิดชอบเพียงผู้เดียว

(6) เรือกลไฟ หรือเรือยนต์อันมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป อากาศยาน หรือรถไฟ ที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะ

มาตรา 14 พ.ร.บ.คอมฯ

นอกจากนี้ยังมีในส่วนของความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560

โดยในมาตรา 14 ระบุเหตุแห่งการกระทําความผิดไว้ว่า

ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษ “จำคุกไม่เกินห้าปี” หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

(1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา

(2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิด ความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

(3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

(4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูล คอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง (1) มิได้กระทําต่อประชาชน แต่เป็นการกระทําต่อบุคคลใด บุคคลหนึ่ง ผู้กระทํา ผู้เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้เป็นความผิดอันยอมความได้

Next Post

Betfred Sports, Represented by SCCG Management, Signs Multi-year Marketing Agreement with Colorado Rockies

LAS VEGAS, NV, Mar 3, 2021 – (ACN Newswire via SEAPRWire.com) – Stephen Crystal, SCCG Management Founder, announced that Betfred USA Sports, represented by SCCG Management, has entered into a multi-year marketing and sponsorship agreement with the Colorado Rockies. The terms of the deal […]