“หมอยง” คาดโควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ “คลัสเตอร์ทองหล่อ” ระบาดมาจากฝั่งกัมพูชา

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ ในประเทศไทยครั้งนี้ น่าจะเกิดจากการเคลื่อนย้ายของประชาชนระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา เนื่องจากไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ แพร่ระบาดในประเทศกัมพูชาตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2564 และปัจจุบันยังแพร่ระบาดอย่างรุนแรงในประเทศกัมพูชา

“โควิด – 19 สายพันธุ์อังกฤษ การระบาดในประเทศไทย

มีการระบาดของสายพันธุ์อังกฤษอย่างมากในประเทศเขมร เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 64 จนถึงวันที่ 19 มีนาคม 64 มีจำนวนผู้ป่วยกว่า 1500 ราย สายพันธุ์ที่ตรวจพบ รายงานโดย องค์การอนามัยโลก เป็นสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7 และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วมากใน เขมร

เมื่อเป็นเช่นนี้่ ต้นต่อของการระบาดในประเทศไทยครั้งนี้ ที่เกิดจากสายพันธุ์อังกฤษ ครั้งนี้ไม่น่าจะมาจากสถานกักกัน ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ น่าจะมาจากการเคลื่อนย้ายของประชาชนระหว่างประเทศเขมรและไทย เพราะพบสายพันธุ์นี้ในเขมร ตั้งแต่วันที่ 20 ก.พ. 64 และยังระบาดอย่างรุนแรงในเขมร รายงานต่างด้าว หรือคนไทยที่ข้ามไป ข้ามมา น่าจะเป็นต้นเหตุ ในการแพร่ระบาดครั้งนี้”

“โควิด 19 เหตุผลที่บอกว่าการระบาดที่ทองหล่ น่าจะมาจากเขมรการระบาดที่ทองหล่อและระบาดอย่างมากในประเทศไทยขณะนี้ โดยเฉพาะมาจากสถานบันเทิง ที่เป็นแหล่งต้นตอของการแพร่กระจายอย่างมาก สายพันธุ์ไวรัสเป็นสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7 แต่เดิมการระบาดที่สมุทรสาครและแพร่กระจายไปทั่วประเทศตั้งแต่เดือนธันวาคม เป็นสายพันธุ์ในกลุ่ม GH ซึ่งเป็นสายพันธุ์เดียวกับการพบในผู้ที่เดินทางมาจากประเทศพม่าสายพันธุ์อังกฤษได้เริ่มมีการระบาดอย่างมากในประเทศเขมร โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ จนกระทั่งปัจจุบันการระบาดก็ยังไม่หยุด มีผู้ป่วยในการระบาดรอบนี้ร่วม 3000 คน และมีการเสียชีวิตมากกว่า 20 คน แสดงในรูปกราฟการระบาดจากข้อมูลองค์การอนามัยโลก และมีการถอดรหัสพันธุกรรมของผู้ป่วยในเขมรที่บันทึกไว้เป็นหลักฐานในการระบาดโรคนี้ จะเห็นว่าเป็นสายพันธุ์ B.1.1.7 และเขียนไว้อย่างชัดเจนในข้อมูลขององค์การอนามัยโลก

จากการถอดรหัสพันธุกรรมของสายพันธุ์ทองหล่อ โดยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก จุฬา ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ รวมทั้งสวทช แสดงให้เห็นว่าพันธุกรรมของไวรัสสายพันธุ์ทองหล่อ อยู่ในกลุ่มเดียวกับสายพันธุ์ที่ระบาดในเขมร มีความเหมือนกัน และเปรียบเทียบกับสายพันธุ์อังกฤษที่ศูนย์ไวรัส ได้ถอดรหัสพันธุกรรม โควิด 19 จากผู้เดินทางมาจากต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศอังกฤษและยุโรป อเมริกา ความเหมือนของสายพันธุ์จะเหมือนกับสายพันธุ์ที่แยกได้จากเขมร มากกว่า

การระบาดในเขมรเกิดขึ้นก่อนในประเทศไทย โดยเกิดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และระบาดอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์โดยการถอดรหัสพันธุกรรม มีความเหมือนกัน การระบาดในประเทศไทยเกิดขึ้นหลังจากการระบาดในเขมรมานานกว่า 6 สัปดาห์ เมื่อเรียบเรียงตามระยะเวลา ความเป็นไปได้จึงน่าจะเป็นจากเขมรมาประเทศไทย มากกว่าประเทศไทยไปเขมรข้อมูลทั้งหมดจึงเป็นข้อมูลที่สนับสนุน โดยเฉพาะทางด้านสายพันธุ์ พันธุศาสตร์ ว่าการระบาดครั้งนี้ น่าจะมาจากประเทศกัมพูชา ส่วนจะมาด้วยวิธีใด ก็คงจะต้องมีการหากันต่อไป อยากให้เด็กไทย สนใจเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ ใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ มาเพื่อใช้ตอบคำถามที่สงสัย”

Next Post

ส่อวิกฤต! โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ หลายแห่ง "งดตรวจโควิด" ระบุเตียงเต็ม-น้ำยาตรวจหมด

(8 เม.ย.) เพจเฟซบุ๊กชื่อดัง หมอแล็บแพนด้า ของ ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน ได้โพสต์ข้อความว่า “ตอนนี้หลาย ๆ โรงพยาบาลไม่อยากตรวจโควิดแล้วครับ เพราะถ้าตรวจเจอผลบวก รพ.นั้น ๆ ต้องรับรักษาผู้ป่วย ห้ามปฏิเสธ แต่ตอนนี้หลาย ๆ รพ. เตียงเต็มหมดแล้วค้าบ ก็เลยต้องงดตรวจแล็บโดยปริยาย” ซึ่งจากการตรวจสอบ รพ.เอกชน หลายแ […]